วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 16


วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.

บรรยากาศในห้องเรียน
                                      วันนี้ก็เป็นครั้งสุดท้ายในการเรียน การสอนในรายวิชานี้เเล้วเเต่ก้ขังได้เจอกับอาจารย์อยู่ อาจารย์เเละเราก็ไม่ได้ไปไหน เเต่ก็ดีใจที่จะจบปี 3 เเล้ว อาจารย์ก็อวยพรให้เราสอบได้ทุกๆวิชา ตั้งใจอ่านหนังสือ ได้A เยอะๆๆ                    
 การเรียน การสอน 
                                       - ไม่มีการเรียน การสอน
ความรู้ที่ได้รับ 
                      อาจารย์ได้เเจกเเจงเรื่องข้อสอบ เงื่อนไขการทำข้อสอบ เเเละกำหนดวันส่งข้อสอบ                                                       
องค์ความรู้ใหม่ 
                 การเรียนมาทั้งเทอมนี้ เราคงไม่ได้ทุกตัวหนังสือที่อาจารย์สอน เเต่อย่างน้อยก็รู้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษคืออะไร มีกี่ประเภทอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่ไม่ลึกมาก เเต่พอเห็นเด็กพิเศษเเต่ละคนในชีวิตจริงก็สามารถมองออกว่า เด็กพิเศษคนนี้เป็นเด็กประเภทอะไร เเละที่สำคัญทำให้เจตคติที่มีต่อเด็กพิเศษในเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก
การนำไปประยุกต์ใช้
                                      การมีเจตคติที่ดีต่อเด็กพิเศษอย่างน้อยก็เป็นสัญญาณที่ดีต่อเรื่องอื่นๆที่จะตามมา ในเวลานับต่อจากนนี้ไปเราก็คงอยู่ในวงการศึกษาไปตลอด เราก็คงต้องมีเรื่องของเด็กพิเศษเเละเด็กปกติเข้ามาในชีวิตของเรา เราไม่อยากหลีกหนีเพราะเขาเป็นเด็กที่น่าเข้าไปช่วยเหลือมากที่สุด เพราะเด็กก็คือเด็กที่ต้องการอะไรมากมายกว่าคนอื่นในฐานะที่เราเป็นครูนั้นสัญชาตญาณเเรกที่เห็นคือการช่วยเหลือให้เขาดูเเลตนเองได้ อยู่กับคนในสังคมอย่างมีความสุขที่สุด



                               

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 15



วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.

บรรยากาศในห้องเรียน


                           เราเรียนตามปกติต่อเนื่องจากในสัปดาห์ที่เเล้ว เรียนทฤษฎีกันทั้งคาบ เเต่ก็มีความสุขในการเรียน มีการโต้ตอบกับอาจารย์ตลอด โดยที่ไม่ได้ให้อาจารย์พูดคนเดียว เดี๋ยวอาจารย์จะเหนื่อย เลยต้องคอยพูด เเละถามอาจารย์อยู่ตลอดเวลา

การเรียน การสอน 
                                                           - อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้(LD)       
                                    - ดู VDO เรื่อง ศูนย์การศึกษาพิเศษ(EI)                                
ความรู้ที่ได้รับ                                                        
  เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้(LD)                        
                                การดูเเลให้ความช่วยเหลือ
                            - สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
                            - มองหาจุดดี จุดเเข็งของเด็ก เเละให้คำชื่นชมอยู่เสมอ
                            - ให้การเสริมเเรงทางบวก
                            - รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
                            - วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
                            - สังเกตติดตามความสามารถ เเละการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
                            - IEP
                             การรักษาด้วยยา
                             - Ritalin
                             - Dexedrine
                             - Cjlert
                            * ใช้ในต่างประเทศ
                             หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                             - สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ(สศศ)
                             - โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
                             - ศูนย์การศึกษาพิเศษ(Early Intervention:EI)
                             - โรงเรียนเฉพาะความพิเศษ
                             - สถาบันราชานุกูล
                                                  สรุป จากการดู VDO เรื่อง ศูนย์การศึกษาพิเศษ(EI)
                                                                                                       

องค์ความรู้ใหม่ 

                   เด็ก LD คือเด็กที่สามารถเรียนกับเราได้ เเต่เราต้องให้การกระตุ้นมากกว่าคนอื่นหน่อยเท่านั้นเอง เราอย่าไปตัดโอกาสเด็กเพียงเเค่ว่าเขาเป็นเด็กพิเศษ เเละหากเรามองเห็นในจุดที่ดีของเขา เราก็สามารถนำจุดนั้นมาพัฒนา ต่อยอดไปได้
การนำไปประยุกต์ใช้
                                                    ในอนาคตเราก้ใช้การสังเกตเด็กเพื่อที่จะเห็นพฤติกรรมของเด็กอย่างชัดเจน เเละการพัฒนาที่ถูกจุด เด็กก็จะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
                                                   จากการดู VDO ทำให้เรามีความรู้เพิ่มมากขึ้น เราก็อาจจะถือโอกาสนี้ไปศึกษาหาข้อมูลจาก ศูนย์การศึกษาพิเศษ(EI)  ครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม



วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.

บรรยากาศในห้องเรียน
                             ในวันนี้เพื่อนๆมีความตื่นเต้นเพราะอาจารย์จะได้เเจ้งคะเเนนสอบกลางภาค ซึ่งตัวเองรู้ก่อนหน้านี้เเล้วเลยไม่ได้ตื่เต้นอะไร คะเเนที่ออกมาค่อนข้างที่จะน้อยมากสะท้อนให้เห้นว่าตัวเองไม่มีการอ่านหนังสือเลย การเรียนการสอนในห้องเรียนไม่มีความตั้งใจ มีคำถามอะไรไม่ถามกับอาจารย์ ส่วนเพื่อนที่ได้คะเเนนเยอะก็บ่งบอกว่าเขาตั้งใจเรียนในห้องเรียน ขยันอ่านหนังสือ คะเเนนที่ออกมามีทั้งสมหวังเเละะผิดหวังไปตามๆกัน เเต่ก็ไม่สามารถเเก้ไขอะไรได้อีก นอกเหนือจากต่อไปนี้เราจะต้องเเก้ไขตัวเองเเล้วทำใหม่ให้ดีขึ้น
 การเรียน การสอน 
                             - อาจารย์ให้ดูเพาเวอร์ในเรื่อง การดูเเลรักษาเเละส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                                             - ในคาบเรียนได้มีการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ความรู้ที่ได้รับ
                      - เด็กพิเศษที่จะพบมากส่วนใหญคือ 1.Dow's Syndrome
                                                                                         2.Autistic
                                                                                         3. สมาธิสั้น
                                                                                         4. LD

                                                                              Dow's Syndrome
 การดูเเล
  1. รักษาตามอาการ
  2. เเก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
  3. ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวันเเละใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
  4. เน้นการดูเเลแบบองค์รวม Holistic approach
 การดูเเลเริ่มจาก
  1. ด้านสุขภาพอนามัย บิดามารดาพาบุตรไปพบเเพทย์ตั้งเเต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
  2. เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
  3. ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
  4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์  เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำเเผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ โดยการฝึกชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนเเรก
  1. ท่านอนตะเเคงข้าง ขาไขว้มือเหยียดตรง
  2. การอาบน้ำเเต่ละครั้งต้องมีอุปกรณ์เยอะ เพื่อเป็นการให้เด็กได้สัมผัสอย่างหลากหลาย
การปฏิบัติของบิดา มารดา
  1. ยอมรับความจริง
  2. เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
  3. ให้ความรักเเละความอบอุ่น
  4. การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก เเละเต้านม
  5. การคุมกำเนิด การทำหมัน
  6. การสอนเรื่องเพศศึกษา
  7. ตรวจโรคหัวใจ
การส่งเสริมพัฒนาการ
  1. พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ เเละภาษา
  2. สามารถปรับตัวเเละช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
  3. สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
  4. ลดปัญญาพฤติกรรม
  5. คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถเเก้ไขปัญหาเเละทำงานได้ดีขึ้น
Autistic
ส่งเสริมความเข้มเเข็งครอบครัว
  1. ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูเเลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถเด็ก
  1. การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
  2. ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
การปรับพฤติกรรมเเละยึดทักษะทางสังคม
  1. เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมเเละลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  2. การให้เเรงเสริม ให้รางวัล เเตะไหล่
การฝึกพูด
  1. โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาเเละการสื่อความหมายล่าช้า
  2. ถ้าเด็กพูดได้เเล้ว โอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติจะเพิ่มมากขึ้น
  3. ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
  4. ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อความต้องการได้
  5. การสื่อความหมายทดเเทน (AAC)
                                                        การสื่อความหมายทดเเทน (AAC)
( Augmentative and Alternative Communication;AAC)
  1. การรับรู้ผ่านการมอง( Visual strategies) เช่น ป้ายบอก
  2. โปรเเกรมเเลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(Picture Exchange Communication System ; PECS) ใช้มากกับเด็ก
  3. เครื่องโอภา(Communication Devices) เป็นคล้ายเครื่องอัดเสียง
  4. โปรเเกรมปราศรัย พิมพ์เเล้วมีเสียง
การส่งเสริมพัฒนาการ
  1. ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
  2. เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมธิ การฟังเเละทำตามคำสั่ง
  3. ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่่อสาร สังคม เเละการปรับพฤติกรรม
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  1. เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร เเละทักษะทางความคิด
  2. เเผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)
  3. โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน (รับเฉพาะเด็กออทิสติก)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  1. ทักษะในชีวิตประจำวัน เเละการฝึกฝนทักษะทางสังคม
  2. ให้เด็กสามารถด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา
  1. Methylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง ซน หุนหันพลันเเล่น ขาดสมาธ
  2. Risperidone/Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันเเล่น พฤติกรรมซ้ำๆพฤติกรรมก้าวร้าวรุนเเรง
  3. ยาในกลุ่ม Anticonuulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง
การบำบัดทางเลือก
  1. การสื่อความหมายทดเเทน AAC
  2. ศิลปกรรมบำบัด Art Therapy  
  3. ดนตรีบำบัด Music Therapy  
  4. การฝังเข็ม Acupuncture
  5. การบำบัดด้วยสัตว์ Animal Therapy  
พ่อ แม่ต้องคำนึง
  1. ลูกต้องพัฒนาได้
  2. เรารักลูกของเรรา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร
  3. ถ้าเราไม่รัก เเล้วใครจะรัก
  4. หยุดไม่ได้ ในการช่วยเหลือ
  5. ดูเเลจิตใจเเละร่างกายของตนเองให้เข้มเเข็ง
  6. ไม่ควรกล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
  7. ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว
องค์ความรู้ใหม่ 
                     
                 เมื่อเด็กมีความบกพร่อง ทุกส่วนต้องเข้ามาช่วยเหลือ ให้คำเเนะนำ เเค่พ่อ แม่ที่ดูเเละคงไม่พอ ทั้งทางครู โรงเรียน สหวิชาชีพต่างๆ เช่น นักโสตบำบัด นักกาพภาพบำบัด นักอัตถบำบัด นักจิตวิทยา เป็นต้น ต้องมีส่วนร่วมด้วย
การนำไปประยุกต์ใช้
                                        เมื่อเราโตขึ้นไปมีความรู้    เราก็สามารถให้ความช่วยเหลือ ให้คำเเนะนำกับพ่อ แม่ที่มีเด็กพิเศษได้   หากมีโอกาส  อาจจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการบำบัดด้วยวิธีต่างๆ เราถนัดในเรื่องของสื่ออยู่เเล้ว เราก็สามารถนำมาบุรณาการเข้าด้วยกัน     
                                  
                               

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 13


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.


ไม่มีการเรียน การสอน
เพราะว่าวันนี้มีการสอบในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ที่มีความต้องการพิเศษ


วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 12



วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.

บรรยากาศในห้องเรียน
                           ในวันเราเรียนตามปกติเราเรียนทฤษฎีกันเเต่ก็เรียนอย่างสนุกสนานจนไม่อยากให้จบการเรียน การสอนในครั้งนี้เลย เพื่อนหรือแม้กระทั่งบางครั้งเราก็ยังเสียงดังเหมือนกัน อาจารยืมีการยกตัวอย่างในบางกรณีให้เราได้ฟัง เราก็รู้สึกสนุกสนานเป็นยอ่างมาก ตื่นเต้นที่ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆที่อาจารย์ถ่ายทอดให้
 การเรียน การสอน 
                                       - อาจารย์ให้ดูเพาเวอร์ในเรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                                       - ในคาบเรียนได้มีการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ความรู้ที่ได้รับ 
                                                            พัฒนาการ  หมายถึง
                            - การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่เเละวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล  
                            - ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  
                                                          เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ     หมายถึง   
                            - เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
                            - เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
                            - พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใด ด้านหนึ่งหลายด้านหรือทุกด้าน
                            - พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้า
                             ปัจจัยที่มีความต่อพัฒนาการเด็ก
                             - ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
                             - ปัจจัยด้านสภาพเเวดล้อมก่อนคลอด
                             - ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
                             - ปัจจัยด้านสภาพเเวดล้อมหลังคลอด
                             สาเหตุ
                             - โรคพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งเเต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่น่นหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติเเต่คำ
                              - โรคของระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการเเสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคืออาการชัก
                             - การติดเชื้อ  การติดเชื้อตั้งเเต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวเเรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติอาจมีม้ามโต การได้ยินบกพร่อง
                             - ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม ถ้าไม่รีบรักษาก็จะโง่แบบถาวร
                             - ภาวะเเทรกซ้อนระยะเเรกเกิด การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวเเรกเกิดน้อย เเละภาวะขาดออกซิเจน
                             - สารเคมี
                                            ตะกั่ว อยู่ในตัวเชื่อม ของเล่นที่มีการผสมสีด้วยตะกั่ว
                                            1. ตะกั่วเป็นสารที่มีผล กระทบต่อเด็ก เเละมีการศึกษามากที่สุด
                                            2. มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหว ผิวดำหมงคล้ำเป็นจุดๆ
                                            3. ภาวะตับเป็นพิษ
                                            4. ระดับสติปัญญาต่ำ
                                           เเอลกอฮอล์จากเเม่
                                             1. น้ำเเรกเกิดน้อย
                                             2. มีอัตรการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อยศีรษะเล็ก
                                             3. พัฒนาการทางสติปัญญามีความบกพร่อง
                                             4. บกพร่องทางพฤติกรรมเเละอารมณ์
                                           โรค Fetal - alcohol
                                           - ช่องตาสั้น
                                           - ร่องริมฝีปากบนเรียบ
                                           - หนังคลุมหัวตามาก
                                           - จมูกแบน
                                           - ปลายจมูกเชิดขึ้น
                                         นิโคติน
                                          - น้ำหนักเเรกเเกิดน้อย ตอนเกิดขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
                                          - เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
                                          - สติปัญญาบกพร่อง
                                          - สมาธิสั้นพฤติกรรมก้าวร้าวมีปัญหาด้านการเข้าสังคม
                                -  การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งขาดสารอาหาร (มีผลกระทบเเต่ไม่รุนเเรง) มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน และ ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
องค์ความรู้ใหม่ 

                           เด็กที่มีความบกพร่องไม่ใช่เกิดเเค่ตัวของพ่อ แม่เท่านั้นเเต่สิ่งเเวดล้อมที่อยู่รอบข้าง ก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่น การที่อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่   
การนำไปประยุกต์ใช้
                                                   ทำให้เราสังเกตเด็กที่มีความต้องการว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคที่กล่าวมาหรือไม่จากลักษณะหน้าตาที่เราพอมองเห็นได้ เเต่เด็กบางคนเราก็ไม่สามารถที่จะไปยืนยันได้ว่าเด็กเป็นโรคนั้นโรคนี้จนกว่าเราจะได้อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก เห็นพฤติกรรมต่างๆที่เขาเเสดงออกมา

                               
                                         
                                            

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 11


วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.




ความรู้ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม


ออทิสติก สเปกตรัม 
(Autism Spectrum Disorder)
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
ออทิสติก สเปกตรัม คืออะไร
   เป็นโรคทางจิตเวชเด็ก จัดในกลุ่มความผิดปกติของระบบประสาท ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม ทำให้เกิดความบกพร่องใน      2 ด้านหลัก คือ ด้านสังคม-การสื่อสาร และ ด้านพฤติกรรม-ความสนใจ
   เดิมแบ่งกลุ่มย่อยเป็น ออทิสติก แอสเพอร์เกอร์ พีดีดีเอ็นโอเอส ในปัจจุบันเรียกรวมกันว่า “ออทิสติก สเปกตรัม” (Autism Spectrum Disorder) หรือจะเรียกว่า “ออทิสติก” ก็ถือว่าเป็นที่เข้าใจตรงกัน
   ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด การบำบัดรักษาสามารถช่วยพัฒนาให้เด็กดีขึ้นได้มาก
แต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน และความสามารถในการเรียนรู้ก็แตกต่างกันมาก ตั้งแต่รุนแรงมาก สื่อความหมายไม่ได้เลย จนถึงอัจฉริยะ มีความสามารถโดดเด่นเฉพาะด้าน เรียนจบปริญญา ในปัจจุบันพบประมาณ 6 คนต่อประชากร 1,000 คน และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเกือบ 4 เท่า
  อดีตเคยเชื่อว่า เกิดจากการเลี้ยงดูในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ในปัจจุบันยืนยันได้ชัดเจนว่า รูปแบบการเลี้ยงดูไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นออทิสติก
ออทิสติก สเปกตรัม มีอาการอย่างไร
ออทิสติก สเปกตรัม มีอาการหลักใน    2 ด้าน คือ ความบกพร่องในด้านสังคมและการสื่อสาร และมีแบบแผนของพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ทำซ้ำๆ และคงรูปแบบเดิม อาการมักแสดงให้เห็นตั้งแต่วัยเด็ก เริ่มสังเกตความผิดปกติได้ชัดเจนในช่วงอายุขวบครึ่ง ในเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้านภาษา พูดได้ไม่สมวัย มักสังเกตได้เร็วกว่า
ออทิสติก สเปกตรัม มีอาการหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละคน แสดงออกตั้งแต่วัยเด็ก ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อาการที่พบบ่อย ได้แก่
ด้านสังคมและการสื่อสาร 
* ทักทายอย่างไม่เหมาะสม หรือไม่สนใจทักทาย 
* สนทนาไม่ราบรื่น มักพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ
* ขาดความสนใจร่วมกัน มีอารมณ์ร่วมกับคนรอบข้างน้อย 
* ใช้ภาษาท่าทางไม่สัมพันธ์กับการพูดคุย 
* สบตาและใช้ภาษาท่าทางไม่เหมาะสม
* ไม่เข้าใจหรือใช้ภาษาท่าทางเพื่อการสื่อสารไม่เป็น
*ไม่แสดงออกทางสีหน้าท่าทาง 
* แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับบริบททางสังคม 
* เล่นตามจินตนาการไม่เป็น
* ผูกมิตรไม่เป็น ไม่รู้วิธีการสร้างสัมพันธภาพ
* ไม่ค่อยสนใจผู้คนรอบข้าง
ด้านแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรม
* พูดเป็นคำหรือวลีซ้ำๆ 
* ใช้ภาษาที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ 
* เคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ เช่น โยกตัว กระโดด สะบัดมือ 
* เคลื่อนไหวร่างกายแปลกๆ เป็นแบบแผนเฉพาะตัว
* ทานอาหารซ้ำๆ ใช้ของซ้ำๆ ใช้เส้นทางเดิมๆ
* ถามเรื่องเดิมซ้ำๆ มากเกิน
* กังวลมากเกินไปกับการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
* ยึดติดหรือหมกมุ่นกับวัตถุบางอย่างมากเกินปกติ 
* สนใจในบางเรื่อง แบบหมกมุ่นมากเกินปกติ 
* เย็นชาต่อความเจ็บปวด ความร้อน ความเย็น
* ตอบสนองต่อเสียงหรือผิวสัมผัสบางอย่างแบบรุนแรง
* ดมหรือสัมผัสกับวัตถุบางอย่างมากเกิน
* สนใจในแสงไฟ หรือวัตถุหมุนๆ มากเกิน
   ในเด็กอายุ     18 เดือนขึ้นไป ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป ควรมีการดำเนินการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และให้ความช่วยเหลือทันที อาการดังก่าวคือ
1) เล่นสมมติ เล่นจินตนาการไม่เป็น 
2) ไม่สามารถชี้นิ้วบอกความต้องการได้
3) ไม่สนใจเข้ากลุ่มหรือเล่นกับเด็กคนอื่น 
4) ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสนใจร่วมกับคนอื่น
  เมื่อเป็นออทิสติก สเปกตรัม ควรทำอย่างไร
   เริ่มต้นด้วยการปรึกษากับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อตรวจประเมิน วินิจฉัย และวางแผนการดูแลร่วมกัน หาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งค้นคว้าต่างๆ แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากความรู้ยังไม่นิ่ง เมื่อมีข้อสงสัยให้นำไปปรึกษากับแพทย์ที่ดูแลเป็นระยะ
   การบำบัดรักษาจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหลายสาขา ดูแลร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย นักวิชาการศึกษาพิเศษ ฯลฯ

การบำบัดรักษาที่จำเป็น
* การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior Modification)
* กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)
* แก้ไขการพูด (Speech Therapy)
* การฝึกทักษะทางสังคม (Social Skill Training)
* การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (Special Education)
* การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (Vocational Training)
* การใช้ยา (Pharmacotherapy)

การบำบัดรักษาเสริมหรือทางเลือก
* ศิลปะบำบัด (Art Therapy)
* ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
* การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal-assisted Therapy)

การบำบัดรักษาที่ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ยืนยัน
* ออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy)
* การบำบัดเซลล์ (Cell Therapy)
* การฝังเข็ม (Acupuncture)

การบำบัดรักษาที่ยืนยันแล้วว่าไม่ได้ผล
* วิตามินบี ขนาดสูง (Megavitamin)



อย่ากลัวที่จะรู้ว่าลูกเป็นอะไร แต่กลัวที่ลูกจะเสียโอกาสในการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีมากกว่า
ออทิสติก สเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder)

ออทิสติกไม่ได้สร้างความแตกต่าง
แต่เป็นเพราะว่าเด็กทุกคนแตกต่างกัน
เราจึงควรเรียนรู้และเข้าใจใน
ความแตกต่างกันของเด็กแต่ละคน


   

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.


บรรยากาศในห้องเรียน 

                                      ในวันนี้ที่ห้องเรียนของเรา จะมีการนำเสนอประเภทของเด็กพิเศษประเภทต่างๆ อาจารย์บอกว่าคงไม่สามาถรนำเสนอได้เพราะว่าคอมพิวเตอร์เเละโปรเจ็คเตอร์มีปัญหาอาจารย์เลยให้รอเพื่อที่จะได้ไปเรียนอีกห้องอื่น เเต่ระหว่างรออาจารย์ไปจับสายทำให้ทุกอย่างใช้ได้ตามปกติ
                                      วันนี้ก่อนเเละระหว่างการนำเสนองานนั้นมีความตื่นเต้นพอสมควรไม่รู้เป็นเพราะอะไรทั้งๆที่เราก็เรียนมาจนถึงปี3เเล้ว
                                      เพื่อนๆตั้งใจฟังการนำเสนอของพวกเราเป็นอย่างดี เเละระหว่างการนำเสนอมีทั้งพูดผิด พูดถูกทำให้เกิดเสียงหัวเราะเป็นสีสันไม่น่าเบือ่ในการนำเสนอด้วย

การเรียน การสอ

                             - นำเสนอประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   

                                                                 กลุ่มที่1    Cerebral Palsy C.P 

                                                                 กลุ่มที่2    Children with Learning Disabilities L.D.

                                                                กลุ่มที่3    Children with Attention Deficit and  Hyperactivity Disordersซึ่งพึงนำเสนอได้เพียง 3 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดมี 5 กลุ่ม

ความรู้ที่ได้รับ        

ขอนำเสนอในรูปแบบบรรยายเเละผังความรู้ด้วยโปรเเกรมMind  Mapper 2008                                                      

  Cerebral Palsy C.P

              โรค Cerebral Palsy (ซีรีบรัล พลัลซี หรือ ซีพี) หรือ โรคสมองพิการ เกิดจากสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง หรือสูญเสียไป ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง  ซึ่งจะทำให้ผู้เป็น โรค Cerebral Palsy มีปัญหาในการเคลื่อนไหว  
 แบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3 ระยะ คือ
1. ระหว่างตั้งครรภ์    
2. ระยะระหว่าคลอด
3. ระยะหลังคลอด  
อาการ
 พ่อแม่พบความผิดปกติก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี ยังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ เเบ่งอาการเป็น 3 กลุ่ม
                                                          1.กลุ่มแข็งเกร็ง(สปาสติก : spastic)
เป็นชนิดที่พบมากที่สุด กล้ามเนื้อจะมีความตึงมากผิดปกติ ทำให้มีอาการเกร็งร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติของร่างกายให้เห็นได้หลายแบบ
                                                       2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(อะธีตอยด์ : athetoid ; อะแทกเซีย : ataxia)
                                                         3.กลุ่มอาการผสมกัน(mixed type)

พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็ง เป็นปัญหาและความผิดปกติที่เกิดร่วมกับเด็กสมองพิการ


การดูแล/รักษา
การรักษาทางกายภาพบำบัด
การรักษาทางกิจกรรมบำบัด
การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมร่วมกับการรักษา


Children with Learning Disabilities L.D


Children with Attention Deficit and  Hyperactivity Disorders

สมาธิสั้น (อังกฤษAttention Deficit Hyperactivity Disorders (ADHD)) เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ ผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นคือผู้ที่มีความบกพร่องในเรื่องสมาธิ และการควบคุมการกระทำของตนเองในการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
สาเหตุ
แท้จริงของภาวะสมาธิสั้นนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือพันธุกรรมที่มีผลต่อสมอง แม้ว่าจะยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าภาวะสมาธิสั้นมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างไรก็ตาม


ลักษณะอาการ ในเด็กเล็กวัย 3 - 5 ขวบไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา แม้ขณะรับประ
ทานอาหาร เช่น นั่งรับประทานอาหารได้เพียงคำเดียวก็ลุกขึ้นวิ่ง มักพูดแทรกและขัดจังหวะคนอื่น เป็นคนอดทนรอไม่ได้ เช่นเวลาเข้าแถว เวลาเล่นของเล่น หรือเกมที่ต้องผลัดกันเล่น เล่นของเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ไม่นาน ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ทั้งที่มีความเข้าใจ และสื่อสารได้ปกติ เล่นเสียงดังมากกว่าเด็กคนอื่นไม่ชอบแบ่งปัน ชอบแย่งของจากคนอื่น โดยไม่เข้าใจความรู้สึกของคนที่ถูกแย่ง ดูเหมือนกับมีพลังงานมากมาย ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยลักษณะอาการ ในเด็กอายุ 6 ปี ขึ้นไปจะพบอาการได้ชัดกว่าในเด็กเล็ก มีอาการสำคัญ 3 กลุ่มอาการดังนี้1. อาการไม่มีสมาธิ (Inattention)
  • มีความสะเพร่า เลิ่นเล่อ ผิดพลาดสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อยู่เสมอ
  • เหม่อลอย บางครั้งอาจนั่งนิ่งๆ เป็นระยะเวลานานๆ จึงมักทำงานไม่เสร็จ หรือทำงานช้า แต่บางครั้งหากเป็นสิ่งที่สนใจมาก ๆ เช่นวิดีโอเกมหรือรายการโทรทัศน์ ก็อาจตั้งใจดูเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อเนื่องได้
  • ไม่ฟังเวลาผู้ใหญ่พูดด้วยหรือสอน มักจำไม่ได้ ลืมง่ายมากกว่าเด็กทั่วไป
  • มักทำของหาย เช่น ของเล่น การบ้าน ดินสอ หนังสือ ยางลบ ฯลฯ
  • วอกแวกได้ง่ายมากแม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆ น้อยที่ผ่านทางตาหรือหูก็สามารถทำให้เสียสมาธิได้
2. อาการอยู่ไม่สุข (Hyperactivity)
  • ชอบเดินไปมาในห้อง หรือออกนอกห้อง ถ้าไม่เดินก็จะนั่งไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี้ลุกลน หยิบโน่น ฉวยนี่ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
  • ซนมากกว่าเด็กทั่วๆไป ดูเหมือนมีพลังงานอยู่ตลอดเวลา ชอบวิ่งเล่นหรือปีนป่ายในสถานที่ที่ไม่สมควร ไม่หวาดกลัวต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้น
  • มักลืมตัวเล่นเสียงดัง
  • ไม่มีระเบียบในการทำสิ่งต่างๆ มักวุ่นวาย ยุ่งเหยิงตลอดเวลา
3. ขาดความยับยั้งชั่งใจ อดทนรออะไรไม่ได้ (Impulsive)
  • มักพูดมาก พูดแทรก
  • รอคอยไม่เป็น มักแสดงออกในลักษณะรีบเร่ง
  • หุนหันพลันแล่นทำสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วโดยไม่ยั้งคิด
เด็กบางคนอาจมีอาการให้เห็นครบ3 กลุ่ม แต่บางคนอาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ได้ เช่นไม่ซนมาก ทนรอได้ไม่มีสมาธิ เหม่ลอย วอกแวกง่าย ซึ่งมีผลต่อการเรียนทั้งสิ้น
เด็กบางคนอาจแสดงอาการตั้งแต่วัยก่อนอนุบาลหรือวัยอนุบาล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเห็นพฤติกรรมได้เด่นชัดเมื่ออยู่ชั้นประถมขึ้นไป ทั้งนี้หากมีพฤติกรรมดังกล่าวซึ่งมีโอกาสได้ว่าเด็กจะมีภาวะสมาธิสั้น ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญต่อไป


องค์ความรู้ใหม่          
  • การนำเสนองานในครั้งนี้ทำให้ทราบว่าสิ่งที่จะทำให้งานของเรามีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับการพูดคุยกัน ความร่วมมือ การปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม
  •  เเต่ก่อนเคยคิดว่าเด็กอยู่ไม่นิ่งก็เป็นเด็กสมาธิสั้นเเล้ว เเต่ในความเป็นจริง อาการที่จะบ่งบอกของเด็กสมาธินั้นมีอยู่หลายอย่าง ก็ไม่ควรที่จะตีความเด็กไปในเด็กประเภทนั้น                                         

การนำไปประยุกต์ใช้

  • ทำให้เห็นรูปแบบการนำเสนอในรูปแบบต่างๆที่หลากหลายที่เพื่อนนำเสนอ เราสามารถนำมาบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ
  • สามารถนำไปบูรณาการความรู้ไปสู่วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย